โรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว
ปกติร่างกายของคนเราต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นประสาทถูกใช้งานไปนาน ๆ อาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ยาก รวมทั้งมีอาการปวดร้าวที่กระดูก ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ไขข้อกระดูก และกล้ามเนื้อ เป็นโรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ระดับอาการมีตั้งแต่น้อยไปถึงมาก และอาจนำไปสู่ความพิการได้
ระบบประสาท ไขข้อกระดูก และกล้ามเนื้อ สำคัญอย่างไร
การที่ร่างกายของเรามีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ต้องอาศัยการทำงานอย่างเป็นระบบของอวัยวะภายใน ทั้งระบบประสาท ระบบโครงกระดูก และระบบกล้ามเนื้อ เพราะการเตลื่อนไหวเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกาะระหว่างกระดูกที่อยู่เหนือและใต้ข้อต่อ ความสำคัญของอวัยวะส่วนต่าง ๆ จึงมีความสำพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน โดยการทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
ระบบประสาท ทำหน้าที่ออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการ เคลื่อนไหวของร่างกาย โดยสมองเป็นเสมือนศูนย์กลางการควบคุม และการสั่งการของระบบภายในร่างกายทั้งหมด
เป็นอวัยวะสำคัญในการเคลื่อนไหว ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเยื่อบุข้อต่อ ป้องกันการ เสียดสีและกันกระแทก รวมไปถึงทำหน้าที่หล่อลื่นข้อต่อเพื่อทำให้การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นไปได้อย่างสะดวก
การทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวและคลายตัว นอกจากทำให้เกิดการ เคลื่อนไหว ยังทำให้ร่างกายมีความมั่นคงมากขึ้น เนื่องจากเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อจะยืดเหนือข้อต่อและทำให้ข้อต่อมีความมั่นคง
โรคระบบประสาท ไขข้อกระดูก และกล้ามเนื้อ ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของร่างกาย และจิตใจ หากอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว ได้รับอุบัติเหตุหรือเกิดโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่ออวัยวะส่วนนั้น อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ โดยโรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวระยะยาว มีดังนี้
อาการของโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบประสาท ไขข้อ กระดูก และกล้ามเนื้อ นอกจากความทุกข์ทรมานจากอาการปวดข้อแล้ว การเคลื่อนไหวร่างกายไม่เป็นปกติ ยังเป็นปัญหาต่อการทำงานและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การรักษาด้วยตำรับยาสมุนไพรจากสุรพรรณคลินิก เป็นทางเลือกที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ลงลึกถึงสาเหตุและฟื้นฟูอาการเสื่อมโทรม ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องให้กลับมาแข็งแรงทั้งระบบ ไม่มีการสะสมของเคมี ไม่เกิดอาการข้างเคียงกับอวัยวะอื่น แต่เนื่องจาก ตำรับยาสมุรไพร ไม่มีตัวยาที่กดอาการหรือยาแก้ปวด ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด