โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังที่ถือเป็นภัยเงียบที่ไม่มีสัญญาณเตือนหรือไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็น หากไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมอาการของโรค ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพของหลอดเลือด ที่อาจทำให้ผู้ป่วยทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ เพื่อให้รู้ทันโรค บทความนี้สุรพรรณ คลินิก มีความรู้มาแนะนำค่ะ


ความดันโลหิตสูง คืออะไร


ความดันโลหิตสูง หมายถึง สภาวะผิดปกติที่บุคคลมีระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับปกติของคนส่วนใหญ่ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องควบคุมเพราะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือด เช่น การอุดตันของหลอดเลือด หลอดเลือดสมอง และเส้นเลือดในสมองตีบ


รู้ได้อย่างไร ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง


ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ มักไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีอาการภายนอกให้เห็น หรือมีสัญญาณบ่งบอกแต่ไม่รู้ว่าเป็นอาการของโรค ภาวะของโรคนี้ผู้ป่วยจะทราบได้จากการตรวจวัด ซึ่งค่าความดันซิสโตลี (ค่าความดันตัวบน) และค่าความดันไดแอสโตลี (ค่าความดันตัวล่าง) จะเป็นตัวบ่งบอก ดังนี้

  •  - ค่าความดันโลหิตอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท) ลงไป ถือเป็นค่าปกติ
  •  - ความดันโลหิตตัวบนอยู่ระหว่าง 120–139 หรือความดันโลหิตตัวล่างอยู่ระหว่าง 80–89 จัดอยู่ ใน “กลุ่มเสี่ยง”
  •  - ค่าความดันโลหิตที่วัดได้มีค่าสูงตั้งแต่ 140/90 ขึ้นไป ถือว่ามีภาวะ “ความดันโลหิตสูง”

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง อาการ และภาวะแทรกซ้อน


สาเหตุของโรค

ผู้ป่วยมากกว่า 90 % มีภาวะความดันสูงโดยไม่ทรายสาเหตุ และพบได้บ่อยใน กลุ่มบุคคลต่อไปนี้

  •  1. ผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัว เคยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน
  •  2. คนที่มีรูปร่างอ้วน ใขมันในเลือดสูง มีกรดยูริคในเลือดสูง และอายุมาก
  •  3. ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคไต โรคต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวก ไต หรือโรคอื่น ๆ
  •  4. การรับประทานยาบางชนิดอย่างต่อเนื่องหรือรับประทานเป็นประจำ เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษา โรคเรื้อรังต่าง ๆ ยาลดความอ้วน ยาแก้ปวด และยาอื่น ๆ
  •  5. การใช้สิ่งเสพติด ตัวอย่างเช่น โคเคนและยาบ้า

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

ภาวะของโรคนี้มักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ หากค่าความ ดันโลหิตอยู่ในระดับที่สูงเกินปกติ แต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันไป เช่น

  •  1. อาการปวดศีรษะ
  •  2. มึนงง ปวดศีรษะช่วงท้ายทอย
  •  3. เหนื่อยง่าย เหนื่อยหอบขณะทำงาน
  •  4. เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว
  •  5. แน่นหน้าอก
  •  6. นอนไม่หลับ

ภาวะแทรกซ้อน ของโรคความดันโลหิตสูง

อาการแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง มักเป็น ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ดังนี้

  •  1. โรคหัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว จากอาการหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  •  2. โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้
  •  3. ความผิดปกติที่จอประสาทตา เนื่องจากหลอดเลือดแดงในตาเสื่อมลงอย่างช้า ๆ
  •  4. โรคไตเรื้อรัง เนื่องจากหลอดเลือดไตเสื่อม

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง ถือเป็นโรคเรื้อรังที่การแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จะทำการรักษาด้วยยาควบคู่กับการปรับวิถีชีวิตการใช้ชีวิต รวมทั้งยังมีการรักษาด้วยสมุนไพรจากแพทย์แผนไทยหรือแพทย์ทางเลือก ดังนี้


  •  • การแพทย์แผนปัจจุบัน

  •  1. การรับประทานยา

แพทย์จะจ่ายยาลดความดันโลหิตให้กับผู้ป่วยเพื่อควบคุมอาการ และผู้ป่วยอาจได้รับชนิดยา ขนาด และปริมาณที่แตกต่าง โดยแพทย์จะเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน นัดผู้ป่วยมาพบแพทย์เป็นระยะ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตว่าควบคุมได้ดีหรือไม่ รวมทั้งตรวจหาโรคแทรกซ้อนและปรับยาให้เหมาะสม


  •  2. แนะนำผู้ป่วย ปรับวิถีชีวิตความเป็นอยู่

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่การแพทย์แผนปัจจุบันแนะนำผู้ป่วยต้องรับประทานยาต่อเนื่อง เนื่องจากไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปกติได้ด้วยการปรับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เช่น

  •  - งดรับประทานอาหารเค็มจัด
  •  - จำกัดอาหารหวาน อาหารมัน
  •  - ควบคุมน้ำหนักตัว หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  •  - หลีกเลี่ยงหรืองดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  •  - ลดความเครียด

  •  • การรักษาด้วยสมุนไพรจากแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย ถือเป็นแพทย์ทางเลือกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเรื้อรังต่าง ๆ โดยแนวทางการรักษามีทั้งใช้รักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน หรือใช้เป็นตำรับยาเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ดังนี้


  •  1. ใช้สมุนไพรรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือปรับพฤติกรรมเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง คือแนวทางหนึ่งของการ รักษา เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาพื้นบ้านจึงมีการนำพืชผักพื้นบ้านมาปรุงเป็นอาหาร เพื่อป้องกันและรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ตัวอย่างเช่น

  •  - ใบบัวบก พืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยบำรุงหลอดเลือด ลดอาการอักเสบ และบำรุงการ ไหลเวียนโลหิต
  •  - ตะไคร้ สมุนไพรในครัวใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารหลากหลาย กลิ่นของตะไคร้ช่วยให้ ผ่อนคลาย ลดความดันโลหิตได้
  •  - กระเทียม มีสาร Allicin และ Ajoene ที่มีส่วนช่วยลดไขมันในหลอดเลือด
  •  - ขึ้นฉ่าย เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น ลดความดัน ต้านการอักเสบ ลดบวม
  •  - ขิง พืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและช่วยลดความดันโลหิตได้

  •  2. รักษาโรคความดันด้วยตำรับยา

ตามหลักการแพทย์แผนไทย การรักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ด้วยตำรับยา คือการนำยาสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกันหรือมีส่วนผสมอื่นที่เป็นยารวมอยู่ด้วย ข้อดีของการรักษาด้วยตำรับยาที่มีส่วนผสมของสมุนไพรหลายชนิด เนื่องจากการนำสมุนไพรชนิดเดียวมาใช้ อาจมีทั้งคุณและโทษ การปรุงเป็นตำรับยาเพื่อให้สมุนไพรถอนพิษซึ่งกันและกัน เป็นการตัดโทษของสมุนไพรออกให้เหลือเฉพาะคุณประโยชน์เท่านั้น


การรักษาความดันโลหิตสูง ด้วยตำรับยาของสุรพรรณ คลินิก


สุรพรรณ คลินิก ให้ความสำคัญกับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยตำรับยาสมุนไพรมุ่งตรงเข้ารักษาที่สาเหตุของโรค อีกทั้งยังบำรุงอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องให้กลับมาแข็งแรงพร้อมกันทั้งระบบ ฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูงด้วยการรักษาแบบองค์รวม เพราะอาการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่นโรคความดันโลหิตสูง อวัยวะที่เกี่ยวข้องมักมีอาการเสื่อมหรือทรุดโทรมไปด้วยในเวลาเดียวกัน การรักษาโดยไม่ฟื้นฟูอวัยวะที่เกี่ยวข้องจึงสำให้โรคมักกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่หายขาด


สุรพรรณ คลินิก ใช้ตำรับยาในการรักษษเท่านั้น ไม่มีการนำสมุนไพรเชิงเดี่ยวมาใช้ เพราะการใช้สมุนไพรเชิงเดี่ยวติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้ป่วย การรักษาของคลินิก นำแนวทางการรักษาของแพทย์สมุนไพร 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน อินเดีย ที่มีจุดเด่นแตกต่างกันมา อีกทั้งได้พัฒนารูปแบบและบรรจุภัณฑ์ของตัวยาให้ง่ายต่อการรับประทานและพกพา สุรพรรณคลินิก เป็นคลินิกแพทย์ทางเลือกที่ได้รับอนุญาตถูกต้องจากกระทรวงสาธารณสุข แพทย์ผู้รักษาได้รับใบประกอบโรคศิลป์อย่างถูกต้อง มั่นใจได้ว่าการเข้ารับรักษาเป็นจะในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ต้องการรักษาตำรับยาสมุนไพร สามารถติดต่อสอบถามได้ทุกช่องทาง

ติดต่อสอบถามข้อมูล และ นัดเวลาพบแพทย์
สุรพรรณคลินิกการแพทย์แผนไทย (กรุงเทพ)
8/3 ม.ชวนชื่นโมดัสวิภาวดี แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพ 10210
คุณหมอออกตรวจ วันศุกร์-เสาร์ เวลา 11.00-15.00 น.
02 197-2699 / 097-459-6565
Map
คลินิกบ้านหมอแผนไทย (ราชบุรี)
10/31 ถนนสมบูรณ์กุล ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000
คุณหมอออกตรวจ วันอาทิตย์ เวลา 10.00-16.00 น.
032-338-275
Map
สุรพรรณคลินิกการแพทย์แผนไทย (เชียงใหม่)
371/22 หมู่ 1 ตึกแถวกาญกนก ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
คุณหมอออกตรวจ วันพฤหัสบดี (อาทิตย์เว้นอาทิตย์) เวลา 13.00 - 18.00 น.
053-117-470 / 080-445-5624
Map
รักษาโรคเรื้อรังทุกระดับด้วยสมุนไพร
ปลอดภัย ไม่ต้องกินยาตลอดชีวิต